วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 14 กฎหมายโรงงาน และการจัดตั้งโรงงาน

 บทที่ 14 กฎหมายโรงงาน และการจัดตั้งโรงงาน


                พระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2512 (แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2518 และ 2522) และ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโรงงานเป็นกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมและกำกับ ดูแลการตั้ง และประกอบกิจการโรงงานเพื่อประโยชน์ในทางเศษฐกิจและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศ หรือของสาธารณชน การป้องกันเหตุเดือดร้อน รำคาญ การป้องกันความเสียหายกันป้องกันอันตรายที่ อาจจะเกิดแก่ประชาชนหรือ สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติโรงงานได้รับการประกาศใช้ เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2482 แก้ไข เพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2503 ถูกยกเลิก ไปในปี พ.ศ. 2512 และได้ใช้พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2512 แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ. 2518 และ2522 จนถึงต้นปี พ.ศ. 2535 จึงได้ถูก ประกาศยกเลิกและเริ่มใช้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 แทน โดยมีสาระสำคัญ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมดัง รายละเอียดที่จะกล่าวดังต่อไปนี้

                                                                                                           มาตรา 5                                                                                     กำหนดความหมายของ "โรงงาน" เป็นอาคารสถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าหรือ กำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป(พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 กำหนดเป็นตั้งแต่ 2 แรงม้าหรือ กำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 2 แรงม้าขึ้นไป )หรือใช้คนงานตั้แต่ 7 คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม
หมวด 1: การประกอบกิจการโรงงาน
                                                                                                            มาตรา 7
                กำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน รำคาญการป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมี ต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม คือ
โรงงานจำพวกที่ 1 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันที
โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงาน ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะ ดำเนินการ
                                                                                                            
                                                                                                            มาตรา 8
                ให้รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจออกกฏกระทรวง เพื่อให้โรงงานจำพวกใดจำพวกหนึ่งหรือทุกจำพวกต้อง ปฏิบัติตามในเรื่องต่อไปนี้(เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอากาศเสีย)
                (1) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้งของโรงงานสภาพแวดล้อมของโรงงาน ลักษณะอาคารของโรงงานหรือลักษณะภายในของโรงงาน
                (2) กำหนดลักษณะ ประเภทหรือชนิดของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน
                (3) กำหนดให้มีคนงานซึ่งมีความรู้เฉพาะตามประเภท ชนิดหรือขนาดของโรงงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่หนึ่งหน้าที่ใดประจำโรงงาน
                (4) กำหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติกรรมวิธีการผลิตและการจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใดเพื่อป้องกัน หรือระงับหรือบรรเทาอันตราย ความเสียหายหรือความเดือดร้อนที่อาจเกิดแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงาน หรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน
                (5) กำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษหรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน
                (6) กำหนดการจัดการให้มีเอกสารที่จำเป็นประจำโรงงาน เพื่อประโยชน์ในการควบคุม หรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฏหมาย
                (7)กำหนดข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงานที่ผู้ประกอบกิจการ โรงงานต้องแจ้งให้ทราบเป็น ครั้งคราวหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
                (8) กำหนดการอื่นใดเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน เพื่อป้องกันหรือระงับหรือบรรเทาอันตราย หรือความเสียหายที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน
                ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฏกระทรวง หรือประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฏกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ(8) ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท (มาตรา 45)
                ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฏกระทรวง หรือประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฏกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8 (6)หรือ (7) ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 46)
มาตรา 9
                ให้เอกชนสามารถเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ แทนการ ปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้
                ผู้ใดจัดทำผลการตรวจสอบอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 47)
มาตรา 10
                ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 1 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฏกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฏกระทรวง
มาตรา 11
                ให้ผู้ประกอบการกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฏกระทรวง ที่ออกตามมาตรา 8 และประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฏกระทรวง และเมื่อจะเริ่มประกอบกิจการโรงงาน ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เลิกประกอบกิจการ โอน ให้เช่าหรือให้เช่าซื้อโรงงาน
ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 โดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา 48)
                ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ที่แจ้งการประกอบกิจการไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่แจ้งให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ ทราบ เมื่อเลิก ประกอบกิจการ โอน ให้เช่า หรือให้เช่าซื้อโรงงาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 49)

มาตรา 12
                ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดในกฏกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และประกาศของรัฐมนตรี ที่ออกตามกฏกระทรวง และประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 32 และห้ามตั้งโรงงานก่อนได้รับใบอนุญาต
                ในกรณีใดที่ยังมิได้มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตพิจารณา โดยคำนึกถึงความปลอดภัยของบุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานหรือจะกำหนดเงื่อนไข ที่ประกอบกิจการโรงงานจะต้องปฏิบัติเป็นพิเศษไว้ในใบอนุญาตก็ได้
ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 50)
                ถ้าเป็นโรงงานประเภทหนึ่งหรือชนิดที่กำหนดจำนวนหรือขนาดที่จะให้ตั้งหรือไม่ให้ตั้งในท้องที่ ใดตามประกาศที่ออกตามมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 50)

มาตรา 13
                ผู้รับใบอนุญาติตามมาตรา 12 ต้องแจ้งให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ทราบไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มประกอบกิจการโรงงาน
ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 51)

มาตรา 14
                ใบอนุญาติให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินแห่งปีที่ 5 นับแต่ปีที่เริ่มประกอบกิจการ และต้องทำการขอต่อใบอนุญาตตามมาตรา 15
มาตรา 15
                ต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้แก้ไขให้ ถูกต้อง หากพบว่าโรงงานไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฏกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฏกระทรวง ประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 32 และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตและให้มีคำสั่งไม่ต่อใบอนุญาต หากไม่แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
มาตรา 18
                การขยายโรงงาน ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 52)
                ถ้าเป็นโรงงานประเภทหรือชนิดที่กำหนดจำนวนหรือขนาดที่จะให้ตั้งหรือไม่ให้ตั้งในท้องที่ใด ตามประกาศที่ออกตามาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา 52)
มาตรา 20
                หากเห็นสมควรผู้อนุญาตสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเงื่อนไขที่ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติ ในการประกอบกิจการโรงงานที่กำหนดในใบอนุญาติตามมาตรา 12 หรือผู้รับ ใบอนุญาต อาจยื่นคำขอ และชี้แจงเหตุผลเพื่อขอยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าวได้
มาตรา 30
                ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมได้ และอาจออกกฏกระทรวงกำหนดให้บริเวณโดยรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมหรือนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฏหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม ภายในระยะที่กำหนดเป็นเขตห้ามประกอบกิจการ โรงงานโดยเด็ดขาดหรืออนุญาตให้ประกอบกิจการได้เฉพาะโรงงานบางประเภทชนิดหรือขนาดใดก็ได้

หมวด 2 : การกำกับและดูแลโรงงาน
มาตรา 32
                เพื่อผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศหรือ ของสาธารณชนให้รัฐมนตรีโดยการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดในเรื่องต่อไปนี้ (เฉพาะในส่วนที่สามารถ ใช้ในการควบคุมอากาศเสีย)
กำหนดจำนวนและขนาดของโรงงานแต่ละประเภท หรือชนิดที่จะให้ตั้ง หรือขยาย หรือที่จะไม่ให้ตั้งหรือขยายในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง
กำหนดชนิด คุณภาพ อัตราส่วน ของวัตถุดิบแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบและปัจจัยหรือชนิดของพลังงานที่จะนำมาใช้หรือผลิตในโรงงาน

มาตรา 35
                ให้พนักงานเจ้าที่ที่อำนาจดังต่อไปนี้(เฉพาะในส่วนที่สามารถใช้ในการควบคุมอากาศเสีย) เข้าไปในโรงงานหรืออาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่มีเหตุสงสัยว่าจะประกอบกิจการโรงงาน ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่ดังกล่าว เพื่อตรวจสภาพหรือการกระทำใดๆ ที่อาจะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโรงงานนี้ ตรวจ ค้น กัก ยึด หรืออายัดผลิตภัณฑ์ ภาชนะ                บรรจุ สมุด บัญชี เอกสาร หรือสิ่งใดๆ ที่เกี่ยวข้องในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่าการประกอบกิจการของโรงงานอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียง หรือมีการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติโรงงานนี้
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 56)


มาตรา 37
                ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ โรงงานนี้ หรือการประกอบกิจการโรงงงานมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายความเสียหาย หรือความเดือดร้อนแก่บุคคล หรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงาน หรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน หรือแก้ไขหรือปรับปรุงหรือปฏิบัติ ให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด <ddผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนังงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง (มาตรา 57)
                ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานหน้าที่ปลัด กระทรวงหรือผู้ที่ปลัดกระทรวง มอบหมาย มีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ มอบหมายให้บุคคลใดๆ เข้าจัดการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งได้ โดยผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องเป็น ผู้เสียค่าใช้จ่ายตามจำนวน ที่จ่ายจริง รวมกับเบี้ยปรับในอัตราร้อยล่ะ 30 ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าว ในการดำเนินการดังกล่าว ให้ขอรับเงินช่วยเหลือ จากกองทุนสิ่งแวดล้อม และให้ชดใช้ เงินคืนแก่กองทุนสิ่งแวดล้อม เมื่อได้รับเงินจากผู้ประกอบกิจการโรงงาน (มาตรา 42)
                ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่บุคคลซึ่งปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายให้เข้าจัดทำ เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 59)
                                                                                                         
                                                                                                     มาตรา 39
                ในกรณีผู้ประกอบกิจการโรงงานใดจงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 37 โดยไม่มีเหตุอันควร หรือในกรณีที่ปรากฏว่าการประกอบกิจการของโรงงานใด อาจจะก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย หรือความเดือดร้อนอย่างร้ายแรงแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงาน หรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานให้ปลัดกระทรวง หรือผู้ที่ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานหยุดประกอบกิจการโรงงานทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว และปรับปรุงแก้ไขโรงงานนั้นเสียใหม่หรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
                ผู้ประกอบกิจการโรงงาน สถาปนิกหรือวิศวกรฝ่าฝืนประกอบกิจการโรงงานในระหว่างที่ได้มีคำสั่ง ให้หยุดประกอบกิจการโรงงงานหรือภายหลัง ที่มีคำสั่งให้ปิดโรงงานต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ปรับอีกวันล่ะ 5,000 บาท จนกว่าจะหยุดประกอบกิจการ (มาตรา 55)
                ผู้ทำงานหรือคนงานอื่นๆ ที่ฝ่าฝืนให้ศาลพิจารณาลงโทษแล้วแต่กรณีโดยคำนึกถึงฐานะความรับผิดชอบ ต่อครอบครัว ความจงใจฝืนกฏหมายและความมีส่วนสำคัญในการกระทำ (มาตรา 35)




แหล่งที่มา : https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi6/kot/kot4.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น