บทที่ 6 สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาให้
แลกเปลี่ยนคืออะไร
๑.การแลกเปลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของ
เป็นการแลกเปลี่ยนโดยเอาของต่อของมาแลกกัน และทั้งสองฝ่ายต่างก็พอใจ เช่น นาย ก.นำไก่ 5 ตัว ไปแลกหมูจากนาย ข. 1 ตัว เป็นต้น แลกเปลี่ยนระบบนี้มีในสมัยโบราณหรือชนบทที่ห่างไกลความเจริญ
๒.การใช้เงินเป็นสื่อกลาง เนื่องจากการแลกเปลี่ยนสิ่งของมีข้อยุ่งยากที่จะให้เกิดความพอใจแก่ผู้แลกทั้ง
๒ ฝ่าย
มนุษย์จึงใช้เงินเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่นนาย ก. มีไก่ก็นำไปขาย พอได้เงินมาแล้ว ตัวเขาต้องการหมูก็เอาเงินไปซื้อหมูตามที่ต้องการได้ การใช้เงินเป็นสื่อกลางจึงช่วยให้การแลกเปลี่ยนสะดวกขึ้น
๓.การใช้ตราสารทางการเงิน
ในการซื้อขายที่ต้องใช้เงินคราวละมากๆอาจไม่ปลอดภัย มนุษย์จึงคิดหาวิธีซื้อขายกันให้สะดวกและปลอดภัย
เช่นการใช้เช็ค เช็คเดินทาง ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต
ต่างๆแทนเงิน
ลักษณะสำคัญของการแลกเปลี่ยน
แบ่งได้เป็น 3 ระบบคือ
1. ระบบการแลกเปลี่ยนของต่อของ
(Barter System)
ระบบการแลกเปลี่ยนของต่อของ เป็นการนำสิ่งของมาแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้ที่มีความต้องการตรงกัน เช่น นำข้าวสารมาแลกกับหมู นำไข่แลกกับปลา นำผ้าทอแลกกับหนังสัตว์ เป็นต้น การแลกเปลี่ยนในระบบนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยในยุคแรกมนุษย์ดำรงชีวิตความเป็นเป็นอยู่อย่างง่าย มีการผลิตอาหารและสิ่งต่าง ๆ เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน แต่ต่อมาเมื่อสังคมมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงกว้างขวางมากขึ้น มีการติดต่อระหว่างครัวเรือน ความต้องการในการบริโภคมีมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เกิดความต้องการในสิ่งของที่ไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ภายในครัวเรือน จึงต้องมีการนำสิ่งของที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของที่ตนต้องการ โดยการแสวงหาคนที่มีความต้องการตรงกันและพอใจในสัดส่วนของการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
ระบบการแลกเปลี่ยนของต่อของ เป็นการนำสิ่งของมาแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้ที่มีความต้องการตรงกัน เช่น นำข้าวสารมาแลกกับหมู นำไข่แลกกับปลา นำผ้าทอแลกกับหนังสัตว์ เป็นต้น การแลกเปลี่ยนในระบบนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยในยุคแรกมนุษย์ดำรงชีวิตความเป็นเป็นอยู่อย่างง่าย มีการผลิตอาหารและสิ่งต่าง ๆ เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน แต่ต่อมาเมื่อสังคมมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงกว้างขวางมากขึ้น มีการติดต่อระหว่างครัวเรือน ความต้องการในการบริโภคมีมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เกิดความต้องการในสิ่งของที่ไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ภายในครัวเรือน จึงต้องมีการนำสิ่งของที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของที่ตนต้องการ โดยการแสวงหาคนที่มีความต้องการตรงกันและพอใจในสัดส่วนของการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
ระบบการแลกเปลี่ยนของต่อของ
ในทางปฏิบัติมีปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เกิดขึ้นหลายประการ ได้แก่
1. ปัญหาความต้องการของคนไม่ตรงกัน ในการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของนั้นจะเกิดการแลกเปลี่ยนเมื่อความต้องการของทั้ง 2 ฝ่ายตรงกัน ซึ่งเป็นการยากที่จะหาคนที่มีความต้องการตรงกัน
2. ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนหรือกำหนดราคา เพราะไม่มีเครื่องมือวัดมูลค่าของสิ่งของที่นำมาแลกเปลี่ยน ทำให้ไม่ทราบว่าจะกำหนดสัดส่วนใดในการแลกเปลี่ยนอาจเกิดการได้เปรียบเมื่อเปลี่ยนกัน เช่น มีวัว 1 ตัว ต้องการแลกกับไก่ 200 ตัว ดังนั้นการแลกเปลี่ยนอาจไม่เกิดขึ้นถ้าทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันไม่ได้
3. ปัญหาเกี่ยวกับการขนส่ง เพียงการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของ ต้องขนของที่ตนมีอยู่ไปแลกกับคนอื่น บางครั้งอาจต้องเดินทางไกลจึงจะพบผู้ที่มีความต้องการตรงกัน ทำให้เสียเวลาในการขนส่ง และสินต้าบางอย่างมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากทำให้ไม่สะดวกในการขนส่งอีกด้วย
4. ปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรักษา สิ่งของบางอย่างไม่สามารถเก็บได้นานอาจเกิดความเสียหายก่อนที่จะนำไปแลกกับคนอื่น
5. ปัญหาเกี่ยวกับการให้กู้ยืมและการชำระหนี้ การให้ยืมสิ่งของและจะใช้คืนในอนาคตจะเกิดปัญหาว่าสินค้าที่ใช้คืนในอนาคตจะมีสภาพเหมือนเดิมหรือไม่ เช่น ขอยืมหมูไป 1 ตัว เมื่อใช้คืนหมูอาจมีสภาพไม่เหมือนตัวเดิม อาจอ้วนหรือผอมกว่าเดิม
6. ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งของบางอย่างแบ่งแยกเป็นหน่วยย่อยไม่ได้ เกิดขึ้นในกรณีต้องการสิ่งของบางอย่างเพียงเล็กน้อย แต่สิ่งสของนั้นไม่สามารถแย่งแยกย่อยได้จึงไม่เกิดการแลกเปลี่ยน เช่น ต้องการวัวเพียงครึ่งตัวแลกกับข้าวสาร 40 ถัง ซึ่งวัวไม่สามารถแบ่งครึ่งตัวได้จึงไม่เกิดการแลกเปลี่ยน เป็นต้น
1. ปัญหาความต้องการของคนไม่ตรงกัน ในการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของนั้นจะเกิดการแลกเปลี่ยนเมื่อความต้องการของทั้ง 2 ฝ่ายตรงกัน ซึ่งเป็นการยากที่จะหาคนที่มีความต้องการตรงกัน
2. ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนหรือกำหนดราคา เพราะไม่มีเครื่องมือวัดมูลค่าของสิ่งของที่นำมาแลกเปลี่ยน ทำให้ไม่ทราบว่าจะกำหนดสัดส่วนใดในการแลกเปลี่ยนอาจเกิดการได้เปรียบเมื่อเปลี่ยนกัน เช่น มีวัว 1 ตัว ต้องการแลกกับไก่ 200 ตัว ดังนั้นการแลกเปลี่ยนอาจไม่เกิดขึ้นถ้าทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันไม่ได้
3. ปัญหาเกี่ยวกับการขนส่ง เพียงการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของ ต้องขนของที่ตนมีอยู่ไปแลกกับคนอื่น บางครั้งอาจต้องเดินทางไกลจึงจะพบผู้ที่มีความต้องการตรงกัน ทำให้เสียเวลาในการขนส่ง และสินต้าบางอย่างมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากทำให้ไม่สะดวกในการขนส่งอีกด้วย
4. ปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรักษา สิ่งของบางอย่างไม่สามารถเก็บได้นานอาจเกิดความเสียหายก่อนที่จะนำไปแลกกับคนอื่น
5. ปัญหาเกี่ยวกับการให้กู้ยืมและการชำระหนี้ การให้ยืมสิ่งของและจะใช้คืนในอนาคตจะเกิดปัญหาว่าสินค้าที่ใช้คืนในอนาคตจะมีสภาพเหมือนเดิมหรือไม่ เช่น ขอยืมหมูไป 1 ตัว เมื่อใช้คืนหมูอาจมีสภาพไม่เหมือนตัวเดิม อาจอ้วนหรือผอมกว่าเดิม
6. ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งของบางอย่างแบ่งแยกเป็นหน่วยย่อยไม่ได้ เกิดขึ้นในกรณีต้องการสิ่งของบางอย่างเพียงเล็กน้อย แต่สิ่งสของนั้นไม่สามารถแย่งแยกย่อยได้จึงไม่เกิดการแลกเปลี่ยน เช่น ต้องการวัวเพียงครึ่งตัวแลกกับข้าวสาร 40 ถัง ซึ่งวัวไม่สามารถแบ่งครึ่งตัวได้จึงไม่เกิดการแลกเปลี่ยน เป็นต้น
2. ระบบการแลกเปลี่ยนโดยใช้เงิน
(Money System)
จากการแลกเปลี่ยนในระบบของแลกของมีความไม่สะดวกหลายประการมนุษย์จึงได้คิดค้นหาวิธีแลกเปลี่ยนในระบบใหม่ที่มีความสะดวกสบายมากกว่าระบบเดิม โดยมีการกำหนดสิ่งของบางอย่างขึ้นมาเป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน เรียกสิ่งนั้นว่า เงิน (Money) เงินที่กำหนดขึ้นมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนต้องเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ในระยะแรก ที่ใช้เป็นเงิน ได้แก่ สิ่งของบางชนิดที่สังคมยอมรับซึ่งแตกต่างกัน ไปตามท้องถิ่นสภาพภูมิประเทศและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น หนังสัตว์ ใบชา ยาสูบ เกลือ เปลือกหอย ลูกปัด เป็นต้น
จากการแลกเปลี่ยนในระบบของแลกของมีความไม่สะดวกหลายประการมนุษย์จึงได้คิดค้นหาวิธีแลกเปลี่ยนในระบบใหม่ที่มีความสะดวกสบายมากกว่าระบบเดิม โดยมีการกำหนดสิ่งของบางอย่างขึ้นมาเป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน เรียกสิ่งนั้นว่า เงิน (Money) เงินที่กำหนดขึ้นมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนต้องเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ในระยะแรก ที่ใช้เป็นเงิน ได้แก่ สิ่งของบางชนิดที่สังคมยอมรับซึ่งแตกต่างกัน ไปตามท้องถิ่นสภาพภูมิประเทศและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น หนังสัตว์ ใบชา ยาสูบ เกลือ เปลือกหอย ลูกปัด เป็นต้น
ลักษณะซื้อขายมาใช้บังคับกับแลกเปลี่ยน
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของเงิน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการด้วยความสะดวก ส่งผลทำให้ระบบเศรษฐกิจมีความเจริญก้าวหน้า
2. เป็นเครื่องมือวัดมูลค่า เงินเป็นหน่วยมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้าหรือบริการได้ทุกชนิด
3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต เงินเป็นสิ่งที่มีค่าคงที่แน่นอน สามารถใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการชำระหนี้ในอนาคตได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
4. เป็นเครื่องมือเก็บรักษามูลค่า เงินมีมูลค่าคงที่มากกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นซึ่งมีราคาเปลี่ยนแปลงเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของเงิน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการด้วยความสะดวก ส่งผลทำให้ระบบเศรษฐกิจมีความเจริญก้าวหน้า
2. เป็นเครื่องมือวัดมูลค่า เงินเป็นหน่วยมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้าหรือบริการได้ทุกชนิด
3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต เงินเป็นสิ่งที่มีค่าคงที่แน่นอน สามารถใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการชำระหนี้ในอนาคตได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
4. เป็นเครื่องมือเก็บรักษามูลค่า เงินมีมูลค่าคงที่มากกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นซึ่งมีราคาเปลี่ยนแปลงเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป
การเพิ่มเงินในการแลกเปลี่ยน
เงินสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. เงินมาตรฐาน คือ เงินที่ทำด้วยโลหะที่มีค่าและหายากใช้เป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนโดยแท้ ทั้งนี้ เพราะเป็นเงินเหรียญที่มีมูลค่าเต็มตัว ซึ่งเงินมาตรฐานมี 2 ชนิด คือ
1.1 เงินที่มีมูลค่าเต็มตัว
1.2 เงินมาตรฐานที่ทำด้วยกระดาษหรือเรียกว่า บัตรแทนเงิน
เงินสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. เงินมาตรฐาน คือ เงินที่ทำด้วยโลหะที่มีค่าและหายากใช้เป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนโดยแท้ ทั้งนี้ เพราะเป็นเงินเหรียญที่มีมูลค่าเต็มตัว ซึ่งเงินมาตรฐานมี 2 ชนิด คือ
1.1 เงินที่มีมูลค่าเต็มตัว
1.2 เงินมาตรฐานที่ทำด้วยกระดาษหรือเรียกว่า บัตรแทนเงิน
2. เงินเครดิต หมายถึง เงินประเภทที่มีราคาของเงินที่ตราไว้สูงกว่ามูลค่าของสิ่งของที่ใช้ทำเงินนั้น เหตุที่เรียกว่า เงินเครดิต นั้นเพราะผู้ใช้เชื่อเครดิตของรัฐบาล เพราะรัฐบาลเป็นผู้กำหนดให้เงินใช้ชำระหนี้ตามกฎหมายได้
ซึ่งเงินเครดิตแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
2.1 เงินเครดิตที่ทำด้วยโลหะ
2.2 เงินเครดิตที่ทำด้วยกระดาษ
2.1 เงินเครดิตที่ทำด้วยโลหะ
2.2 เงินเครดิตที่ทำด้วยกระดาษ
3. เงินฝากเผื่อเรียก หมายถึง เงินฝากธนาคารพาณิชย์ประเภทเงินฝากกระแสรายวัน เจ้าของเงินฝากสามารถเขียนเช็คสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินได้ทันทีเมื่อต้องการ ซึ่งการจ่ายเงินโดยผ่านการใช้เช็คถือเป็นเงินตราประเภทหนึ่ง เพราะสามารถทำหน้าที่ของเงินตราได้อย่างสมบูรณ์ เช็คใช้แทนธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์จะสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
ไม่เสียเวลาในการนับ
สัญญาให้
สัญญาให้
ประวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521
บัญญัติว่า "อันว่าให้นั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า
ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า
ผู้รับและผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น"
สัญญาให้เป็นสัญญาซึ่งมีคู่สัญญาสองฝ่าย
โดยที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้ และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับ และทั้งสองฝ่ายแสดงเจตนาให้
มีการโอนและรับโอนทรรัพย์สินอันเป็นวัตุของสัญญา
ด้วยเหตุนี้ความสำคัญของสัญญาให้จึงอยู่ที่การตกลงของเจตนาซึ่งผู้ให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับโดยมิได้ค่าตอบแทน
และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น จึงเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน
สัญญาให้ไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน
เพราะผู้รับไม่ต้องทำหน้าที่ตอบแทนอย่างไร
คงรับเอาประโยชน์จากผู้ให้แต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น และผู้ให้ก็ให้ไปโดยเสน่หา
แบบของการให้
หากดูในด้านแห่งความสมบูรณ์ของสัญญาแล้วอาจจะแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ
1.สัญญาสมบูรณ์โดยมีเจตนาตกลงกัน กับ 2.สัญญาสมบูรณ์โดยทำตามแบบ
ที่ว่าสัญญาสมบูรณ์โดยมีเจตนาตกลงกันนั้น หมายความว่า คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องทำตามแบบอย่างใดเลย
เมื่อได้มีการตกลงกันขึ้นจะเป็นโดยแสดงอากัปกิริยาหรือจะเป็นโดยปริยาย
ก็ถือว่าสัญญานั้นสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ ส่วนสัญญาชนิดที่สมบูรณ์
โดยทำตามแบบนั้นคู่สัญญาจะทำให้สมบูรณ์โดยเพียงแต่มีเจตนาตกลงกันเฉยๆหาเพียงพอไม่
ยังจะต้องทำตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้อีก มิฉะนั้นถือว่าสัญญาไม่สมบูรณ์เป็นโมฏะดังที่กล่าวไว้ในมาตรา
152
การให้ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้
การส่งมอบทรัพย์สินที่ให้นั้นจะเป็นการแสดงออกด้วยการกระทำ หรือด้วยวาจาไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้สุดแต่ว่าให้ทรัพย์นั้นอยู่ในเงื้อมมือของผู้รับ
ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบ การให้นั้นก็หาสมบูรณ์
ไม่และทำให้ผู้รับไม่มีสิทธิเรียกร้องอะไรจากผู้ให้
สำหรับผลของการให้ที่มิได้ทำให้ถูกต้องตามมาตรา
525 มีดังนี้คือ
1.การให้ไม่สมบูรณ์
2.กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ยังเป็นของผู้ให้อยู่
หาได้โอนไปยังผู้รับแล้วไม่
3.เมื่อยังไม่ได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ต่อมาผู้รับจะฟ้องศาลบังคับให้มีการจดทะเบียนการให้ก็ไม่ได้
4.การให้ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง
เช่น ที่ดินที่มีเพียง ส.ค.1 และ น.ส.3 แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน
ผู้รับก็ได้รับสิทธิครอบครองตามหลักเรื่องการสละการครอบครอง
และการได้มาซึ่งการครอบครองตามหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1377 และ 1378
5.แม้การยกให้ที่มิได้โอนทางทะเบียน
ผู้รับให้อาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยอาศัย มาตรา 1382
ของประมวลกฎหมายแพ่งในเรื่องการครอบครองปรปักษ์
6.หากเป็นการยกอสังหาริมทรัพย์ให้แก่รัฐบาลหรือเทศบาล
เพื่อให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304
การสละให้นั้นไม่จำต้องทำการจดทะเบียนอย่างการโอนให้แก่เอกชน[3]
7.แต่ถ้าการให้อสังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อให้รื้อถอนไปในสภาพที่เป็นสังหาริมทรัพย์
กรณีนี้ก็ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 525
.การให้กระบือซึ่งไม่เคยปรากฎว่ามีทะเบียนสัตว์พาหนะ
การให้สมบูรณ์โดยการส่งมอบ ไม่ต้องจดทะเบียน (ฎ.1922/2522)
การเรียกให้ส่งทรัพย์สินที่ยืม
ในบางครั้งผู้ให้ก็มิได้ให้ทรัพย์สินนั้นไปเปล่าๆ
โดยผู้ให้กำหนดให้ผู้รับให้ชำระค่าภาระติดพัน
อันเป็นการให้ทรัพย์สินที่มีค่าภาระติดพันด้วย
ถ้าผู้รับไม่ชำระค่าภาระติดพันดังกล่าว ก็จะมีผลให้ผู้ให้เรียกคืนทรัพย์สินได้
โดยบัญญัติที่เกี่ยวกับการให้โดยมีค่าภาระติดพันมีอยู่ 3 มาตรา ดังนี้คือ
มาตรา 528
"ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้นั้นมีค่าภารติดพันและผู้รับละเลยเสียไม่ชำระค่าภารติด
พันนั้นไซร้ ท่านว่าโดยเงื่อนไขอันระบุไว้ในกรณี สิทธิเลิกสัญญาต่างตอบแทนกันนั้นผู้ให้จะเรียกให้ส่งทรัพย์สินที่ให้นั้นคืน
ตามบทบัญญัติว่าด้วยคืนลาภมิควรได้นั้นก็ได้เพียงเท่าที่ควรจะเอาทรัพย์นั้น
ไปใช้ชำระค่าภารติดพันนั้น แต่สิทธิเรียกคืนอันนี้ย่อมเป็นอันขาดไป
ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิจะเรียกให้ชำระค่าภารติดพันนั้น"
มาตรา 529 "ถ้าทรัพย์สินที่ให้มีราคาไม่พอกับการที่จะชำระค่าภารติดพันไซร้
ท่านว่าผู้รับจะต้องชำระแต่เพียงเท่าราคาทรัพย์สินเท่านั้น"
มาตรา 530 "ถ้าการให้นั้นมีค่าภารติดพัน
ท่านว่าผู้ให้จะต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิเช่น
เดียวกันกับผู้ขาย แต่ท่านจำกัดไว้ว่าไม่เกินจำนวนค่าภารติดพัน"
การถอนคืนการให้
ในบางพฤติการณ์สมควรที่จะให้มีการเพิกถอนการให้ได้
ซึ่งจะทำให้ทรัพย์สินนั้นกลับคืนมาเป็นของผู้ให้หรือกองมรดกผู้ให้
ประมวลแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดว่าในพฤติการณ์นั้นๆ ผู้ให้จะเพิกถอนคืนการให้
มาตรา 531
"อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น
ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
(1)
ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง
ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ
(2)
ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ
(3)
ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลา
ที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้"
แหล่งที่มา : http://patcharasiripathoommas.blogspot.com/2011/08/blog-post.html
แหล่งที่มา : http://patcharasiripathoommas.blogspot.com/2011/08/blog-post.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น