วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 3 กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม

บทที่ 3 กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม

กฎหมายลักษณะนิติกรรม

            นิติกรรม เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถือเป็นหัวใจของกฎหมายแพ่งและเป็นพื้นฐานของกฎหมายแพ่ง

            นิติกรรม หมายถึง การใดๆอันกระทำลงชอบโดยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือ ระงับซึ่งสิทธิ  เช่น การทำพินัยกรรม การรับบุตรบุญธรรม การปลดหนี้ เป็นต้น
นิติกรรม กับ นิติเหตุ
            ทั้งนิติกรรมและนิติเหตุต่างก็เป็นมูลเหตุแห่งความสัมพันธ์ทางกฎหมายทั้งสิ้น แต่จะมีข้อแตกต่างคือ
            นิติกรรม เกิดจากความสมัครใจของบุคคลที่จะผูกพันตามกฎหมาย เช่นการทำสัญญา การสมรส
            นิติเหตุ เป็นสิ่งที่บุคคลมิได้สมัครใจที่จะผูกพันกับบุคคลอื่นแต่เพราะมีเหตุการณ์หรือการกระทำบางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งกฎหมายกำหนดให้บุคคลเหล่านั้นมีความผูกพันกัน แม้ใจจริงเขาจะอยากมีความผูกพันหรือไม่ก็ตาม

นิติกรรมมีอยู่  2 ชนิดคือ
            1. นิติกรรมฝ่ายเดียว คือ นิติกรรมที่ผู้กระทำสามารถทำได้โดนฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องอาศัยบุคคลอื่นให้มีปฏิกิริยากลับมา เช่น การทำคำเสนอ การให้คำมั่น การบอกล้างโมฆียกรรม การบอกเลิกสัญญา เป็นต้น
            2. นิติกรรม 2 ฝ่าย คือ นิติกรรมที่ต้องอาศัยการมีปฎิกิริยาระหว่างบุคคลผู้ทำนิติกรรมและผู้รับการกระทำ นิติกรรมจึงจะมีผล นิติกรรม  2 ฝ่ายเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัญญา


ความสมบูรณ์ของนิติกรรม
            1. นิติกรรมที่สมบูรณ์ คือ นิติกรรมที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย
            2.  นิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
                        2.1 โมฆะกรรม หรือ นิติกรรมที่เป็นโมฆะ คือ นิติกรรมเสียเปล่า ใช้ไม่ได้มาตั้งแต่ต้น ผู้กระทำย่อมไม่มีความผูกพันตามกฎหมายอย่างใดทั้งสิ้น
                        2.2 โมฆียกรรม หรือ นิติกรรมที่เป็นโมฆียกรรม คือนิติกรรมที่มีข้อบกพร่องซึ่งอาจมีการบอกล้างหรือมีการให้สัตยาบันในภายหลัง

                                    >>> ถ้ามีการบอกล้าง  = นิติกรรมจะกลายเป็นโมฆะแต่ต้น 
                                    >>>ถ้ามีการให้สัตยาบัน = นิติกรรมก็จะกลายเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์

ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการบอกล้างหรือให้สัตยาบันนิติกรรมที่เป็นโมฆียะนิติกรรมนั้นก็ยังคงสามารถบังคับตามกฎหมายได้

เหตุที่ทำให้นิติกรรมไม่สมบูรณ์
            ก)เหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ ที่สำคัญมีอยู่ 7 ประการ ได้แก่
                        1.  นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เช่น สัญญาซื้อขายยาบ้า สัญญารับจ้างฆ่าคน
                        2.  นิติกรรมที่เป็นการพ้นวิสัย เช่น จ้างแท็กซี่ให้ไปส่งที่ดวงจันทร์
                        3.  นิติกรรมที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การทำสัญญาตกลงอยู่กินกันฉันสามีภริยาสามคน 
                        4.นิติกรรมที่ไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด   แบบของนิติกรรม คือการที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า  หากจะทำนิติกรรมประเภทนี้  จะต้องมีวิธีการทำให้เหมือนกับที่กฎหมายกำหนดไว้ ;  วิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ทำตาม  ก็คือแบบนั่นเอง
แบบของนิติกรรมมีหลายแบบ  แล้วแต่ว่านิติกรรมชนิดนั้นจะกำหนดไว้เช่นไร เช่น
                                    -การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์บางชนิด กฏหมายกำหนด     แบบไว้คือ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่
                                    -การจำนอง แบบคือ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่
                                    -การเช่าซื้อ แบบคือ ต้องทำเป็นหนังสือ
                                    -การจัดตั้งบริษัท แบบคือ ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
                                    -การสมรส แบบคือ ต้องจดทะเบียนสมรส
                        5. การแสดงเจตนาลวง คือการสมรู้ ร่วมคิดกับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง  โดยทำนิติกรรมเพื่อแสดงออกต่อบุคคลภายนอกแต่ในใจจริงมิได้มุ่งประสงค์ตามนั้น
                        6.นิติกรรมอำพราง คือ การที่บุคคลทำนิติกรรมขึ้นมาอย่าง โดยอย่างหนึ่งเป็นนิติกรรมที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำกันจริงๆ (แสดงเจตนาลวง) แต่เป็นนิติกรรมที่แสดงออกให้บุคคลภายนอกเห็นและมีนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่แอบทำกันลับๆ ซึ่งประสงค์จะผูกพันกันจริง นิติกรรมที่ทำขึ้นมาบังหน้า เรียกว่านิติกรรมอำพราง ตกเป็นโมฆะนิติกรรมที่แอบซ่อนเอาไว้ เรียกว่า นิติกรรมที่ถูกอำพราง มีผลสมบูรณ์
                        7.การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญ ได้
                                    -สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม
                                    -สำคัญผิดในตัวบุคคลที่เป็นคู่กรณี
                                    -สำคัญผิดในทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม
            ข)เหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ ที่สำคัญมีอยู่  4 ประการ ได้แก่
                        1.  นิติกรรมที่ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ กระทำลงโดยปราศจากความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี
                        2.การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน 
                        3.การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล คือ การแสดงเจตนาเพราะถูกหลอก
                        4. การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่

 ระยะเวลาในการบอกล้างหรือให้สัตยาบัน
            การบอกล้างหรือให้สัตยาบันนั้นมิใช่ว่าจะสามารถทำเมื่อไรก็ได้ กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาเอาไว้ ถ้าเลยจากที่กฎหมายกำหนด ก็จะไม่สามารถทำได้ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้คือ “ ไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่รู้เหตุแห่งความเป็นโมฆียะนั้น แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันทำนิติกรรม  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น