วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สัญญาซื้อขาย


                                                                ความหมาย ของสัญญาซื้อขาย
                สัญญาซื้อขายและสัญญาขายฝากมีความใกล้เคียงกันมากครับ แต่ในบางกรณีในสัญญาขายฝากจะต้องนำบทบัญญัติในเรื่องสัญญาซื้อขายมาบังคับใช้ด้วย อย่างไรก็ตามสัญญาทั้งสองอย่างก็มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ เช่น การที่ผู้ขายฝากยังไม่มีสิทธิในการไถ่สินทรัพย์คืนได้ ภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกัน ในขณะที่สัญญาซื้อขายนั้นผู้ซื้อมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในทรัพย์สินนั้นทันที
สัญญาซื้อขาย เป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

ลักษณะสำคัญของสัญญาซื้อขาย
                      1. เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต้องมีคู่สัญญาสองฝ่าย คือ ผู้ซื้อกับผู้ขาย ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ตอบแทนจากกันและกัน โดยผู้ขายได้รับชำระราคา และผู้ซื้อได้รับสินทรัพย์ไป
                         2. 
เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ เพียงแต่มีคำเสนอและคำสนองตรงกัน ก็ถือว่าเป็นการซื้อขายแล้ว ซึ่งมีข้อยกเว้นอยู่ว่าถ้าสินทรัพย์ที่จะซื้อขายกันนั้น เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษจะต้องทำตามแบบ ไม่เช่นนั้นสัญญาจะตกเป็นโมฆะ
                      3. 
เป็นสัญญาที่ผู้ขายมุ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อมุ่งชำระราคาแก่ผู้ขาย

ประเภทของสัญญาซื้อขาย ประเภทของสัญญาซื้อขายสามารถพิจารณาได้ดังนี้
                 1. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เป็นสัญญาซื้อขายที่มีการกำหนดตัวทรัพย์ซื้อขายที่แน่นอน โดยผู้ขายจะต้องมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ซื้อขาย
                         2. 
สัญญาจะซื้อขาย เป็นสัญญาที่คู่สัญญามีเจตนาจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์กันในภายหลัง เพราะฉะนั้นกรรมสิทธิ์จะยังไม่โอนในขณะที่ทำสัญญา ซึ่งรวมถึงกรณีการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่ต้องทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
                       3. 
คำมั่นว่าจะซื้อขาย ถ้าทรัพย์สินที่ซื้อขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ การจะทำคำมั่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

แบบของสัญญาซื้อขาย
                         1. สัญญาซื้อขายที่ต้องทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้แก่ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ หากไม่ทำตามแบบก็จะตกเป็นโมฆะ
                            2. 
การทำหลักฐานเป็นหนังสือ การวางประจำ หรือการชำระหนี้บางส่วน การซื้อขายบางประเภทหากไม่ทำก็จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขาย
                           เมื่อสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว กล่าวคือเมื่อมีการแสดงเตนาที่ประสงค์ต้องตรงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย (ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ) ในทรัพย์สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อที่ผู้ซื้อจะได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและเพื่อที่ผู้ขายจะได้รับราคาของทรัพย์นั้นดังนี้ เราเรียกว่า สัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว และผู้ขายก็มี “หนี้” หรือ “หน้าที่” ที่จะต้องปฎิบัติตามสัญญาซื้อขายต่อไปถ้าผู้ขายบิดพลิ้วไม่ยอมปฏิบัติตามนั้นย่อมก่อให้เกิด “ความรับผิด” ตามมา สำหรับ “หนี้” หรือ “หน้าที่” ของผู้ขายนั้นได้แก่
                    (1) 
การส่งมอบผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อด้วยความสมัครใจซึ่งจะส่งมอบด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้ขอเพียงให้ทรัพย์สินนั้นเข้าไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อก็พอแล้ว เช่นการส่งมอบหนังสือ อาจใช้วิธีการยื่นให้ การส่งมอบรถยนต์อาจใช้วิธีการส่งมอบกุญแจก็ได้ แต่ที่สำคัญคือว่า จะต้องส่งมอบภายในเวลา และ ณ สถานที่ที่ตกลงกันเอาไว้ ถ้าไม่มีการตกลงกันและทรัพย์ที่ส่งมอบซื้อขายนั้นเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว ตามกฎหมายผู้ขายต้องส่งมอบ ณ สถานที่ที่ทรัพย์นั้นอยู่ในเวลาที่ทำสัญญาซื้อขาย แต่ถ้าไม่ใช้ทรัพย์เฉพาะสิ่งต้องส่งมอบ ณ ภูมิลำเนาปัจจุบันของผู้ซื้อผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ไม่มากเกินไป หรือไม่น้อยเกินไปและต้องไม่นำทรัพย์อื่นมาปะปนด้วย เพราะถ้าส่งมอบน้อยเกินไปสำหรับสังหาริมทรัพย์ผู้ซื้อมี 2 ทางเลือกคือ 1. ไม่รับมอบไว้เลย หรือ 2. รับมอบไว้แต่ใช้ราคาน้อยลงตามส่วนของทรัพย์สินที่ส่งมอบแต่ถ้าส่งมอบมากเกินไปสำหรับสังหาริมทรัพย์ ผู้ซื้อมี 3 ทางคือ 1. อาจจะรับไว้เฉพาะตามจำนวนที่ตกลงกันในสัญญา และส่วนที่เกินจะไม่รับเลยก็ได้ 2. ไม่รับทั้งหมดเลย หรือ 3. รับไว้ทั้งหมด แต่ต้องใช้ราคาสำหรับส่วนที่เกินด้วยส่วนกรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามสัญญาปะปนทรัพย์สินอื่นมาด้วยผู้ซื้อมีทางเลือก 2 ทางคือ 1. รับมอบเฉพาะทรัพย์สินตามที่ตกลงในสัญญาและไม่รับมอบทรัพย์สินส่วนที่ปะปนมา หรือ 2. ไม่รับมอบไว้เลยไม่ว่าส่วนที่เป็นไปตามสัญญาหรือส่วนที่ปนเข้ามาก็ตาม
แต่ถ้าการส่งมอบทรัพย์สินที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ผู้ซื้อมี 2 ทางเลือกคือ 1. รับมอบทรัพย์ตามจำนวนที่สัญญากันไว้แล้วใช้ราคาตามจำนวนที่รับไว้จริง หรือ 2.ไม่รับมอบไว้เสียเลย
          (2) 
ผู้ ขายต้องไม่ชำรุดบกพร่อง ซึ่งในความชำรุดบกพร่องในที่นี้ หมายถึงลักษณะที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายในตัวของมันเองมีความชำรุดหรือมีความ บกพร่องอยู่จนเป็นเหตุให้ทรัพย์นั้นราคาตกหรือไม่เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ตาม ปกติหรือตามสภาพของทรัพย์สินนั้นและความบกพร่องหรือความชำรุดนี้จะต้องมี อยู่ก่อนหรือตามสภาพของสัญญาซื้อขายเท่านั้นตัวอย่าง นายเขียวซื้อแจกันจากนายเหลืองหนึ่งใบ ในราคา 50 บาท ปรากฏว่าก่อนส่งมอบหรือขณะส่งมอบนั้น แจกันเกิดร้าวขึ้นมานายเหลืองผู้ขายก็ต้องรับผิดไม่ว่าจะรู้หรือไม่ว่ามี ความชำรุดบกพร่องอยู่ก็ตามยิ่งถ้ารู้หรือเป็นคนทำให้ทรัพย์สินที่ซื้อขาย นั้นชำรุดบกพร่องเองด้วยแล้วยิ่งต้องรับผิดเลยที่เดียว
          
อย่างไรก็ตามในบางกรณีแม้ทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นจะชำรุดบกพร่องมาก่อน หรือในขณะที่ซื้อขายกันผู้ขายอาจจะต้องไม่รับผิด ในกรณี
          1) 
ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือควรจะได้รู้ถ้าเขาใช้ความระมัดระวังตามปกติ ตัวอย่างเช่นผู้ซื้อเห็นทุเรียนเน่าอยู่แล้วในเวลาซื้อขาย หรือผู้ขายเจาะไว้ให้ดูควรจะดูกลับไม่ดูกลับซื้อไป ผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิด
          2) 
ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นได้เห็นอยู่แล้วในเวลาส่งมอบและผู้ซื้อรับไว้โดยมิได้ทักท้วงประการใด
          3) 
ถ้า ผู้ซื้อทรัพย์สินนั้นจากการขายทอดตลาดเพราะในการขายทอดตลาดนั้นเป็นการขาย ที่เปิดเผยต่อสาธารณะผู้ซื้อน่าจะได้มีโอกาสตรวจสอบก่อนแล้ว
          4) 
ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงกันไว้ว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ซื้อขาย
          5) 
ผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ปลอดจากการถูกรอนสิทธิ กล่าวคือเมื่อผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไปแล้วผู้ซื้อจะต้องไม่ถูกคนอื่นมารบกวนขัดสิทธิในการครองทรัพย์สินนั้นโดยปกติสุข

สิทธิของผู้ซื้อ
          1) สิทธิที่จะได้ตรวจตราดูทรัพย์สินที่ผู้ขายส่งมอบ
          2) 
สิทธิที่จะไม่รับมอบทรัพย์สินจากผู้ขาย เมื่อผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินนั้นน้อยเกินไป (ขาดตกบกพร่อง) กว่าที่ได้ตกลงกัน หรือมากเกินไป (ล้ำจำนวน) กว่าที่ได้ตกลงกัน
          3) 
สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้หรือปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตรงตามที่ตกลงกันไว้
          4) 
สิทธิที่จะยึดหน่วงราคา ในกรณีดังต่อไปนี้
              a. 
ผู้ซื้อพบเห็นความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ซื้อผู้ซื้อมีสิทธิที่จะไม่ชำระราคาจนกว่าผู้ขายจะหาประกันอันสมควรให้
              b. 
ผู้ ซื้อถูกผู้รับจำนองหรือคนที่เรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ขายนั้นขู่ว่าจะฟ้อง เป็นคดีหรือมีสาเหตุที่เชื่อได้ว่าจะถูกขู่ผู้ซื้อจะชำระราคาให้ต่อเมื่อผู้ ขายหาประกันให้หรือต่อเมื่อผู้ขายได้แก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
              c. 
เมื่อมีผู้ผิดนัดไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้ผู้ซื้อก็ยังไม่ชำระราคาจนกว่าผู้ขายจะจัดการส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้
          5) 
สิทธิในการได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเมื่อผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง เช่น ส่งมอบทรัพย์ที่ชำรุดบกพร่องหรือทรัพย์ที่บุคคลอื่นมีสิทธิเหนือทรัพย์นั้นดีกว่าผู้ซื้อ (ถูกรอนสิทธิ)
          6) 
สิทธิในการเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้อีกตามหลักทั่วไป

     
หน้าที่และความรับผิดของผู้ซื้อ :
          (1) หน้าที่ ในการรับมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายตามเวลาตามสถานที่และด้วยวิธีการตามที่ตกลง กันในสัญญาซื้อขายเว้นแต่ผู้ซื้อจะมีสิทธิบอกปัดในกรณีที่เป็นสังหาริม ทรัพย์เมื่อผู้ขายส่งทรัพย์สินให้มากเกินไปหรือน้อยกว่าไปกว่าที่ได้ตกลงกัน ไว้หรือผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ตกลงกันปะปนกับทรัพย์สินอย่างอื่นหรือใน กรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ผู้ขายส่งมอบอสังหาริมทรัพย์นั้นมากเกินไปหรือ น้อยกว่าเกินไปจาที่ได้ตกลงกันไว้
          (2) 
หน้าที่ ในการชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายตามราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือตามทางการ ที่คู่สัญญา เคยประพฤติปฏิบัติต่อกันแต่ถ้าไม่ได้กำหนดราคาไว้เป็นที่แน่นอน ผู้ซื้อก็ต้องชำระราคาตามสมควรและการชำระราคาก็ต้องชำระภายในเวลาที่กำหนด ตามสัญญาด้วยแต่ถ้าหากไม่ได้กำหนดเวลาไว้ให้ชำระราคาในเวลาเดียวกับเวลาที่ ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น
          (3) 
หน้าที่ในการชำระค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย หากตกลงกันไว้ในสัญญาว่าให้ผู้ซื้อชำระคนเดียวทั้งหมด แต่ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ผู้ซื้อก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมครึ่งหนึ่ง

สิทธิของผู้ขาย
          (1) สิทธิ ที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้ในกรณีผู้ซื้อกลายเป็นบุคคลล่มละลายภายหลัง การซื้อขาย แต่ก่อนการส่งมอบทรัพย์สินหรือในกรณีที่ผู้ซื้อล้มละลายอยู่แล้วในเวลาที่ทำ การซื้อขายโดยที่ผู้ขายไม่รู้ถึงการล่มละลายนั้นหรือผู้ซื้อทำให้หลักทรัพย์ ที่ให้ไว้เป็นค้ำประกัน การชำระราคานั้นเสื่อมเสียหรือลดน้อยถอยลง เช่น นายแสดซื้อตู้จากนายส้มในวันที่ 1 มีนาคม2536 กำหนดส่งตู้กันในวันที่ 15 มีนาคม 2536 ชำระราคาวันที่ 18 มีนาคม 2536 ต่อมาในวันที่ 7 มีนาคม 2536 นายแสดถูกศาลส่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย ดังนี้นายส้มไม่ต้องส่งตู้ให้นายแสดในวันที่ 15 มีนาคม 2536
          (2) 
สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระหนี้ ซึ่งถ้าผู้ซื้อไม่ชำระผู้ขายอาจนำทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้ออกขายทอดตลาดก็ได้
          (3) 
สิทธิในการริบมัดจำ (ถ้าได้มีการให้มัดจำกันไว้) และเรียกค่าเสียหาย
          (4) 
สิทธิในการเลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหายได้อีก 
ขายฝาก 
                สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้
การขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือมิฉะนั้นในกำหนดเวลาตามกฎหมาย คือ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน ต้องไถ่ภายใน 10 ปี นับแต่เวลาที่มีการซื้อขาย แต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ต้องไถ่ภายใน 3 ปีนับแต่ซื้อขาย หากเกินกำหนดเวลานี้แล้วกฎหมายถือว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายฝากกัน ตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที กรณีที่ทำสัญญากำหนดเวลาไถ่นานเกินกว่า 10 ปี 3 ปี ก็ต้องลดลงมาเป็น 10 ปี 3 ปี หรือถ้าทำสัญญากำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่า 10 ปี 3 ปี ก็จะขยายเวลามิได้



แบบทดสอบ เรื่อง " สัญญาจ้างแรงงาน จ้างทำของ


                                                            สัญญาจ้างแรงงาน จ้างทำของ
ตอนที่  1  จงขีด √ หรือ x หน้าข้อต่อไปนี้
……………1. สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลง
               ให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงาน เรียกว่าสัญญาจ้างแรงงาน
……………2. ลูกจ้างต้องทำงานด้วยตนเองจะให้คนอื่นทำงานแทนตนไม่ได้
……………3. สัญญาจ้างแรงงานไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
……………4. นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไปต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย
……………5. กรณีลูกจ้างถูกสอบสวนว่ากระทำความผิด จะสั่งพักงานลูกจ้างไม่ได้
……………6. เงินชดเชยคือเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างในกรณีเลิกจ้าง
……………7. การจ้างเขียนภาพเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
……………8. ผู้รับจ้างสร้างโรงเรียนทำด้วยไม้จะต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใน 1 ปี
……………9. นายวิรัตน์จ้างอาจารย์สมพลมาสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้แก่บุตรชาย ต่อมาอาจารย์สมพลป่วยตาย
               ทายาทของอาจารย์สมพลต้องจัดหาคนอื่นมาสอนแทน
……………10. ผู้ว่าจ้างทำของไม่มีสิทธิออกคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานแก่ผู้รับจ้างทำของ

แบบทดสอบ เรื่อง กฎหมายโรงงาน


                                                            กฎหมายโรงงาน
จงเติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
1. โรงงาน หมายความว่า……………………………………………………………………………………………………………………………………
2. โรงงานที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังไม่เกิน…………แรงม้า สามารถประกอบกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาต
3. การดำเนินการจัดตั้งโรงงานที่ใช้คนงานเกิน……………………คน ต้องขออนุญาตก่อน
4. กฎกระทรวงแบ่งโรงงานออกเป็น 3 จำพวก โดยยึดอะไรเป็นเกณฑ์…………………………………………………………………….
5. ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานประเภทที่ 3 มีอายุ…………………………………….ปี
6. ห้ามจัดตั้งโรงงานภายในหมู่บ้านจัดสรรเพื่อการ………………………………………………………………………………………………..
7. พระราชบัญญัติโรงงานไม่ใช้บังคับแก่โรงงานของ………………………………………………………………………………………………
8. เมื่อเกิดอุบัติเหตุคนงานตายภายในโรงงาน ต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน……………….วัน
9. พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในโรงงานที่มีเหตุควรสงสัยในระหว่างเวลา……………………………………………………….
10. ผู้ใดประกอบกิจการโรงงานประเภทที่ 2 โดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบต้องระวางโทษ…………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….11. ผู้มีอำนาจกำหนดที่ตั้งโรงงาน คือ.…………………………………………………………………………………………………………………
12. โรงกลึงต้องอยู่ห่างจากสถานศึกษาอย่างน้อย……………………………………………………เมตร
13. โรงงานที่มีคนงานไม่เกิน 10 คน ห้ามตั้งในเขต……………………………………………………………………………………………….
14. สถานประกอบการที่จะเรียกว่าโรงงาน ต้องมีคนงานตั้งแค่……………………………………คน
15. การเลิกประกอบกิจการโรงงาน ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อ……………………………………………………………………………………..
ภายใน…………………………………วันนับแต่วันเลิกกิจการ

แบบทดสอบ เรื่อง สัญญายืม กู้ยืมเงิน


                                                             สัญญายืม กู้ยืมเงิน
ตอนที่ 1 จงเติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
1. สัญญายืม คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………….....
2. การยืมใช้คงรูป เช่น ยืม………………………………………………………………………………………………………………………………….
3. การยืมใช้สิ้นเปลือง เช่น ยืม………………….…………………………………………………………………………………………………….....
4. ผู้ให้ยืมมีสิทธิบอกยกเลิกสัญญายืมเมื่อ…………………………………………………………………………………………………………….
5. วัตถุแห่งสัญญายืม คือ……………………………………………………………………………………………………………………………………
6. ดำยืมรถยนต์ของแดงไปใช้ ต่อมารถถูกไฟไหม้เสียหายทั้งคันโดยไม่ใช่ความผิดของดำ สัญญายืมระงับหรือไม่…..........
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
7. กู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ต้องทำสัญญา…………………………………………………………….จึงจะฟ้องร้องได้
8. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม กฎหมายกำหนดให้คิดร้อยละ…………………………………………………ต่อปี
9. สัญญากู้ยืมเงินต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา……………………………………………………………………………………………………..
10. การกู้ยืมเงิน 5,000 บาทไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือเป็นโมฆะหรือไม่……………………………………………………….


แบบทดสอบ เรื่อง ตั๋วเงิน


                                                                 ตั๋วเงิน
 ตอนที่  1  จงขีด √ หรือ x หน้าข้อต่อไปนี้
……………1. เช็คเป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่งที่ต้องลงวันที่ออกตั๋วไว้ด้วยมิฉะนั้นจะไม่สมบูรณ์
……………2. ตั๋วแลกเงินคือตราสารที่บุคคลหนึ่งสั่งให้ธนาคารใช้เงินแก่บุคคลที่สาม
……………3. การโอนตั๋วเงินกระทำได้โดยผู้ทรงสลักหลังและส่งมอบ
……………4. แดงมิใช่ผู้สั่งจ่ายในเช็คแต่เป็นผู้สลักหลังและถูกบังคับให้ใช้เงินตามเช็ค แดงจึงเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชดใช้เงินคืน
               เช่นนี้เรียกว่าการไล่เบี้ย
……………5. คดีฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา 1 ปีนับแต่ตั๋วเงินนั้นถึงกำหนดชำระเงิน
……………6. ตั๋วแลกเงินที่ไม่ระบุวันที่ใช้เงินถือว่าเป็นตั๋วไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้
……………7. การอาวัล คือการประกันการใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน
……………8. เซอร์ทิไฟดิเช็ค (Cerified cheque) คือเช็คที่ธนาคารรับรองว่ามีเงินแน่นอน
……………9. การขีดเส้นคู่ขนานลงบนหน้าเช็ค เรียกว่า เช็คขีดคร่อม นำไปขึ้นเงินสดได้
……………10. ผู้ใดออกเช็คชำระหนี้โดยเจตนาที่จะให้ไม่มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท
                จำคุกไม่เกิน 1 ปี


แบบทดสอบ เรื่อง สัญญาตัวแทนนายหน้า


                                                             สัญญาตัวแทนนายหน้า
ตอนที่ 1 จงเติม คำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
1. การที่เหลืองมอบอำนาจให้ชมพูไปทำสัญญาขายที่ดินทนเหลือง ถือว่าเป็นสัญญา…………………………………………………
2. ตัวแทนโดยชัดแจ้ง หมายถึง……………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
3. ค่าตั้งขาวเป็นผู้ดูแลร้านค้า ถือว่าขาวเป็นตัวแทนเฉพาะการใช่หรือไม่…………………………………………………………………
4. กิจการใดที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนต้อง………………………………………………………………………….
5.แดงสั่งให้ดำซึ่งเป็นคนงานขับรถไปส่งลูกไปโรงเรียน รถไปชนรถผู้อื่นเสียหาย ถือว่าดำทำละเมิดในฐานะตัวแทนโดยปริยายได้หรือไม่………………………………………………………………………………………………………………………………………………................
6. ดำตั้งแดงให้เป็นตัวแทนขายที่ดิน ต่อมาแดงตั้งขาวให้เป็นตัวแทนช่วงขายที่ดินแปลงนี้โดยแดงมิรับทราบดังนั้นหากมีความเสียหายเกิดขึ้นดำต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่…………………………………………………………………………………………………
7. ดำตั้งแดงให้เป็นตัวแทนขายบ้าน ต่อมาแดงตั้งเหลืองให้เป็นตัวแทนช่วงขายบ้านหลังนี้ต่อในกรณีตัวการคือ……………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
8. การจัดการหรือการชี้ช่องให้ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าทำสัญญากัน เรียกว่า……………………………………………………………………
9. อายุความฟ้องร้องเรียกค่านายหน้า มีอายุความ………………………………………………………………………………………………..
10. แดงตั้งขาวเป็นนายหน้าขายที่ดินให้ดำ เมื่อตกลงทำสัญญาซื้อขาย ขายเป็นคู่สัญญาแทนแดงได้หรือไม่…………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….


แบบทดสอบ เรื่อง การประกันด้วยบุคคลและทรัพย์


                                                        การประกันด้วยบุคคลและทรัพย์
ตอนที่  1  จงขีด √ หรือ x หน้าข้อต่อไปนี้
……………1. สัญญาประกันด้วยบุคคลเรียกว่า สัญญาค้ำประกัน
……………2. สัญญาประกันด้วยทรัพย์เรียกว่า สัญญาจำนอง
……………3. ผู้ค้ำประกันต้องผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
……………4. ผู้ค้ำประกันของผู้ค้ำประกัน เรียกว่า ผู้รับเรือน
……………5. ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิขอให้เจ้าหนี้เรียกชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อน
……………6. สัญญาจำนองเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว
……………7. การกู้เงินสามารถนำรถยนต์ไปจำนองเป็นประกันได้
……………8. นำที่ดิน 1 แปลงไปจำนอง ในที่ดินมีปั๊มน้ำมันอยู่ด้วย การจำนองครอบถึงปั๊มน้ำมันด้วย
……………9. การจำนำไม่มีแบบเพียงส่งมอบทรัพย์ที่จำนำให้ผู้รับจำนำก็สมบูรณ์แล้ว
……………10. การจำนองที่ดินต้องจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่

แบบทดสอบ พร้อมเฉลย



แบบทดสอบ
คำชี้แจง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง  หรือเหมาะสมที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ทรัพย์สินทางปัญญาหมายถึงอะไร
        ก.  ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
        ข.  ความฉลาดจาการเรียนรู้ของมนุษย์
        ค.  ผลงานอันมีค่าของมวลมนุษย์
        ง.  ปัญญาความเฉลียวฉลาดของมนุษย์
2.  ข้อใดเป็นสิทธิของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา
        ก.  มีสิทธิในการผลิต
        ข.  มีสิทธิในการทำซ้ำ
        ค.  มีสิทธิในการขาย
        ง.  ถูกทุกข้อ
3.  มานีเขียนหนังสือนวนิยายขึ้นมาแล้วนำไปขายให้กับบริษัทสร้างภาพยนตร์    แสดงว่ามานีใช้สิทธิในด้านใด
        ก.  สิทธิในการผลิต
        ข.  สิทธิในการทำซ้ำ
        ค.  สิทธิในการขาย
        ง.  ถูกทุกข้อ
4.  สมชายพิมพ์หนังสือนวนิยายที่ตนเขียนขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้สนใจโดยทั่วไปฟรี  แสดงว่าสมชายใช้สิทธิในด้านอะไร
        ก.  การผลิต
        ข.  การเผยแพร่สู่สาธารณะ
        ค.  การขาย
        ง.  การทำซ้ำ
5.  ทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญในด้านใดมากที่สุด
        ก.  ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
        ข.  ก่อให้เกิดมูลค่าทางจิตใจ
        ค.  ก่อให้เกิดมูลค่าทางวัฒนธรรม
        ง.  ก่อให้เกิดมูลค่าทางการเมือง

6.  สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆ  เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น  เรียกว่าอะไร
        ก.กรรมสิทธิ์
ข.ลิขสิทธิ์
ค.  สังหาริมทรัพย์
ง.  อสังหาริมทรัพย์
7.  งานประเภทใดที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
        ก.  วรรณกรรม
        ข.  ศิลปกรรม
        ค.  ดนตรีกรรม
        ง.  ถูกทุกข้อ
8.  ข้อใดจัดเป็นทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
        ก.  เครื่องหมายการค้า
        ข.  งานภาพยนตร์
        ค.  โปรแกรมคอมพิวเตอร์
        ง.  งานฐานข้อมูล
9.  หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์  ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด  เรียกว่าอะไร
        ก.  ลิขสิทธิ์
        ข.  สิทธิบัตร
        ค.  กรรมสิทธิ์
        ง.  หนังสือสิทธิ์
10.  ข้อใดจัดเป็นเครื่องหมายการค้า
        ก.  เครื่องหมายบริการ
        ข.  เครื่องหมายรับรอง
        ค.  เครื่องหมายร่วม
        ง.  ถูกทุกข้อ
11.  เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างจากสินค้าอื่น เรียกว่าอะไร
        ก.  เครื่องหมายการค้า
        ข.  เครื่องหมายบริการ
        ค.  เครื่องหมายรับรอง
        ง.  เครื่องหมายร่วม
12.  เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น  เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้าหรือบริการนั้น เรียกว่าอะไร
        ก.  เครื่องหมายการค้า
        ข.  เครื่องหมายบริการ
        ค.  เครื่องหมายรับรอง
        ง.  เครื่องหมายร่วม
13.  เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน  หรือโดยสมาชิกของสมาคม  หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน  เรียกว่าอะไร
        ก.  เครื่องหมายการค้า
        ข.  เครื่องหมายบริการ
        ค.  เครื่องหมายรับรอง
        ง.  เครื่องหมายร่วม
14.  ข้อใดไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
        ก.  พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์  พ.ศ.  2537
        ข.  พระราชบัญญัติสิทธิบัตร  พ.ศ.  2522
        ค.  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช2542
        ง.  พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า  พ.ศ.  2534
15.  ข้อใดเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
        ก.  การคัดลอก
        ข.  การเลียนแบบ
        ค.  การปลอม
        ง.  ถูกทุกข้อ 
16. ข้อใดถูกต้อง
                การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ให้ถือว่าผลนับตั้งแต่เวลาที่ผู้รับการแสดงเจตนาทราบการแสดงเจตนานั้น
                การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ให้ถือว่าผลนับตั้งแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา
                การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า ให้ถือว่ามีผลตั้งแต่เวลาที่ผู้รับการแสดงเจตนาทราบการแสดงเจตนานั้น
                มีข้อถูกมากกว่า 1 ข้อ
  


17. นายเอส่งจดหมาย เสนอขายรถยนต์ราคา 5 แสนบาทในวันที่ 1 เมษายน 2555 จดหมายไปถึงภูมิลำเนาของ นายบี จังหวัดเชียงใหม่วันที่ 5 เมษายน 55 นายบี ตอบตกลงซื้อรถยนต์ของนายเอ ในวันที่ 8 เมษายน 55 จดหมายตอบตกลงซื้อรถยนต์ดังกล่าวถึงภูมิลำเนาของนายเอ ในวันที่ 13 เมษายน 55และนายเอ อ่านจดหมายตอบตกลงซื้อรถยนต์ในวันที่ 15 เมษายน 55 การแสดงเจตนาของนายเอมีผลตั้งแต่เมื่อไหร่
                ก.       เมษายน 55
                ข.        8 เมษายน 55               
                ค.        13 เมษายน 55              
                ง.         15 เมษายน 55
18. จากโจทย์ข้อสอง สัญญาเกิดเมื่อใด
                ก.       เมษายน 55
                ก.       2. 8 เมษายน 55
                ข.       3. 13 เมษายน 55
                ค.       4. 15 เมษายน 55
19. นายฟ้า ส่งจดหมายเสนอขายบ้าน ในราคา 3 ล้านบาทโดยจดหมายฉบับแรกนี้ไปถึงภูมิลำเนาของนายดินในวันที่ 10 มกราคม 55 แต่นายฟ้าภายหลังจากทำจดหมายเสนอขายได้ 3 วัน กลับเปลี่ยนใจไม่ต้องการขายบ้านแล้วโดยทำจดหมายยกเลิกการเสนอขายบ้าน ซึ่งจดหมายฉบับที่สองนี้ไปถึงภูมิลำเนาของนายดินในวันที่ 11 มกราคม 55 ซึ่งได้นายดินเปิดดูจดหมายสองฉบับพร้อมกัน ในวันที่ 12 แต่นายดินก็ยังทำจดหมายตอบตกลงการซื้อบ้าน ในราคา 3 ล้านบาท จดหมายตอบตกลงการซื้อบ้านไปถึงภูมิลำเนาของนายฟ้าในวันที่ 17 มกราคม ถามว่าการตอบตกลงการซื้อบ้านของนายดินมีผลอย่างไร
                ก.       การแสดงเจตนาขายบ้านของนายฟ้งสิ้นสุดแล้ว เพราะได้มีจดหมายบอกยกเลิกก่อนที่นายดินจะทราบ
                ข.       สัญญาเกิด เพราคำเสนองและคำสนองตรงกัน
                ค.       การแสดงเจตนาขายบ้านของนายฟ้ายังไม่สิ้นผล เพราะจดหมายยกเลิกการขายบ้าน ไปถึงทีหลังจดหมายเสนอขายบ้าน
                ง.        มีคำตอบที่ถูกมากกว่า 1 ข้อ        
20. นายแมว เสนอขายนาฬิกาให้นายหมา ต่อหน้า นายหมาตอบขอคิดดูก่อน แล้วเดินจากไป จากนั้น 10นาที เดินมาหานายแมวอีกครั้ง พร้อมกับตอบตกลงซื้อนาฬิกานั้น ข้อใดต่อไปนี้ผิด
                ก.       นายแมวจะไม่ขายนาฬิกาให้ก็ได้
                ข.       คำเสนอขายนาฬิกาสิ้นผลแล้ว
                ค.       นายหมาสามารถบังคับให้นายแมว ขายนาฬิกาให้ได้
                ง.        มีข้อผิดมากกว่า 1 ข้อ 
21. นายโอ๊ดเดินสวนทางกับนายบอลจึงเสนอขายทองให้กับนายบอล โดยกำหนดให้ตอบตกลงภายในอีก 10 วันข้างหน้า ปรากฏว่า นายบอลจะมาซื้อทองภายหลัง 5 วันจากที่นายโอ๊ดได้เสนอขายทองนั้น นายโอ๊ดกลับไม่ยอมขาย ข้อใดถูกต้อง
                ก.       สัญญาเกิดแล้ว
                ข.       สัญญายังไม่เกิด
                ค.       นายบอลสามารถบังคับให้นายโอ๊คขายนาฟิกาให้ได้
                ง.        มีข้อที่ถูกมากกว่า 1 ข้อ 
22. ข้อใดไม่ถูกต้อง
                ก.       คำเสนอซึ่งบอกไปยังผู้อื่นซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง และมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอภายเวลาอันควรคาดหมายไม่ได้
                ข.       คำเสนอซึ่งทำแก่บุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า โดยมิได้บ่งระยะเวลาทำคำสนอง คำเสนอจะสิ้นผลเมื่อไม่ได้ตอบตกลงกัน ณ เวลานั้น
                ค.       คำสนองที่มาถึงล่วงเวลา ไม่ทำให้เกิดสัญญา
                ง.        ผิดทุกข้อ เพราะทุกข้อถูกหมด
23. ข้อใดไม่เป็นคำเสนอใหม่
                ก.       คำสนอง ที่ผู้รับคำเสนอบอกปัดคำเสนอจนคำเสนอสิ้นความผูกพันไปแล้ว
                ข.       คำสนองล่วงเวลา
                ค.       คำสนองที่ไม่ตรงกับคำเสนอ
                ง.        มีข้อถูกมากกว่า   1 ข้อ 
24. ข้อเป็นลักษณะของคำสนองที่จะทำให้เกิดสัญญา
                ก.       เป็นการแสดงเจตนาตอบตกลงรับคำเสนอ โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ 
                ข.        คำสนองมีข้อความถูกต้องตรงกับคำเสนอทุกประการ 
                ค.        คำสนองมาถึงผู้เสนอภายในกำหนดเวลา  
                ง.         ถูกทุกข้อ 
25. คำเสนอในข้อใดยังไม่สิ้นความผูกพัน
                ก.       ผู้รับคำเสนอบอกปัดคำเสนอนั้น
                ข.       คำเสนอที่ยังไม่มีคำสนอง แต่ยังอยู่ในระยะเวลาอันควรคาดหมาย สำหรับคำเสนอที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทาง และมิได้บ่งระยะเวลาเอาไว้
                ค.       คำเสนออันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองไว้ ไม่สนองรับภายในกำหนดเวลานั้น
                ง.        คำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม ข้อจำกัด หรือข้อแก้ไขอย่างอื่นต่อคำเสนอ 
26. กิจการธุรกิจรูปแบบใดต้องมีผู้ก่อตั้ง 7 คนขึ้นไป
                ก.       ห้างหุ้นส่วนจำกัด
                ข.       บริษัทจำกัด
                ค.       สหกรณ์
                ง.        รัฐวิสาหกิจ     
 27. กิจการในข้อใดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ?
                ก.       กิจการเจ้าของคนเดียว
                ข.       ห้างหุ้นส่วนจำกัด
                ค.       บริษัทจำกัด
                ง.        ถูกทั้งข้อ ก และ ข
28. คณะกรรมการบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องประชุมคณะกรรมการฯ อย่างน้อยจำนวนกี่ครั้ง
                ก.       ทุกๆ 1 เดือน
                ข.       ทุกๆ 2 เดือน
                ค.       ทุกๆ 3 เดือน
                ง.        กฎหมายไม่ได้กำหนด
29. “พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535” มีผลบังคับใช้เมื่อใด
                ก. เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา
                ข. วันถัดไป นับตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา
                ค. เมื่อพ้นกำหนดสิบวัน นับตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา


                ง. เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา
30. พระราชบัญญัติโรงงาน มีผลให้ยกเลิกพระราชบัญญัติ ฉบับใดบ้าง
                
ก. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512
                
ข. พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511
                
ค. พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518
                
ง. พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2522
31. พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้กับโรงงานของทางราชการ เพื่อเหตุผลใด
                
ก. เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในประเทศ
                
ข. เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ
                
ค. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานราชการ
                
ง. ไม่มีข้อใดถูก
32. โรงงาน หมายความว่าอย่างไร
                
ก. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมห้าแรงม้า
                
ข. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมสิบแรงม้า
                
ค. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมสิบห้าแรงม้า
                
ง. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมยี่สิบแรงม้า
33. ในพระราชบัญญัติฉบับนี้รัฐมนตรีหมายถึงบุคคลใด
                
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง54. กลาโหม
                
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง56. อุตสาหกรรม
                
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง58. มหาดไทย
                
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง60. การคลัง61.
34. 
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8(1) (2) (3) (4) (5) หรือ (8) หรือประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว ต้องระวางโทษตามข้อใด
                
ก. จำคุกไม่เกินห้าเดือน
                
ข. จำคุกไม่เกินหกเดือน
                
ค. ปรับไม่เกินสอง65. แสนบาท
                
ง. ปรับไม่เกินสามแสนบาท
35. 
โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่โรงงานประเภทใด
                
ก. โรงงานที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์
                
ข. โรงงานที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้อง78. แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
                
ค. โรงงานที่การตั้งโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้
                
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
36. เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกอบกิจการให้รัฐมนตรีออกกฎกระทรวงเพื่อให้โรงงานจำพวกใดจำพวกหนึ่งปฏิบัติตามข้อใด       
                ก. กำหนดลักษณะ ประเภทหรือชนิดของเครื่องจักรที่นำมาใช้
                
ข. กำหนดคุณวุฒิของผู้จะเข้ามาปฏิบัติงานในโรงงาน
                
ค. กำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย
                
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ค.
37. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจตามข้อใด
                
ก. กำหนดลักษณะ ประเภทหรือชนิดของเครื่องจักรที่นำมาใช้
                
ข. กำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย
                
ค. กำหนดข้อมูลที่จำเป็นในการแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                
ง. ถูกทุกข้อ
38.   ใบอนุญาตให้ใช้ได้จนถึงเมื่อใด
                ก. 1  ปีนับแต่เริ่มกิจการ
                ข.  ปีนับแต่เริ่มกิจการ
                ค. ปีนับแต่เริ่มกิจการ
                ง. ตลอดชีวิต
39.   หากมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต  ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์บุคคลใด
                 ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
                ข. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
                ค. นายกรัฐมนตรี
                ง. พนักงานเจ้าหน้าที่
 40. ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตขยายโรงงาน  เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตการขอขยายโรงงานและการใช้ขยายโรงงาน  และข้อใดต่อไปนี้
                 ก. การเพิ่มจำนวนเครื่องจักรให้มีกำลังเพิ่มขึ้นร้อยละสามสิบขึ้นไป
                ข. การเพิ่มจำนวนเครื่องจักรให้มีกำลังเพิ่มขึ้นร้อยละห้าสิบขึ้นไป
                ค. การเพิ่มจำนวนเครื่องจักรให้มีกำลังเพิ่มขึ้นร้อยละเจ็ดสิบขึ้นไป
                ง. การเพิ่มจำนวนเครื่องจักรให้มีกำลังเพิ่มขึ้นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป






          ************************************************************************


เฉลย      
1. ก
2.ข
3.ค
4.ข
5.ก
6.ข
7.ง
8.ก
9.ข
10.ง
11.ก
12.ข
13.ง
14.ค
15.ง
16.ง
17.ก
18.ค
19.ง
20.ค
21.ง
22.ง
23.ก
24.ง
25.ข
26.ข
27.ก
28.ค
29.ก
30.ก
31.ข
32.ก
33.ข
34.ค
35.ข
36.ง
37.ง